แจก 50 เครื่องมือทำ SEO ทุกหมวดหมู่ มีทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย

กระบวนการทำ SEO ต้องใช้ความละเอียดและความแม่นยำค่อนข้างสูง การทำงานด้วย SEO Tool ต่าง ๆ จึงช่วยนักการตลาดประหยัดเวลา และช่วยให้ผลลัพธ์ออกมาตรงตามเป้าหมายอีกด้วย
แชร์
แจก 50 เครื่องมือทำ SEO

การทำ SEO เป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ควรให้ความสนใจ เพราะการมีช่องทางการซื้อสินค้าบน Search Engine ที่กลุ่มเป้าหมายใช้ค้นหาสิ่งที่ตนต้องการ เป็นการเพิ่มการมองเห็นแบรนด์และยอดขายไปในตัว และถ้าต้องการให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต้องอาศัยเครื่องมือทำ SEO เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างผลลัพธ์ที่แม่นยำ บทความนี้กระจ่างก็ได้รวบรวม 50 SEO Tool ที่เราได้ทดลองใช้จริงและเวิร์กสุด ๆ ไปดูกันเลย

  • SEO Tool คือ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ช่วยให้ทำวิเคราะห์ข้อมูล วัดผลลัพธ์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น เมื่อเว็บไซต์มีประสิทธิภาพ Ranking ก็จะสูงขึ้นด้วย
  • เครื่องมือทำ SEO ปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งแบบฟรีและมีค่าใช้จ่าย สำหรับมือใหม่สามารถทดลองใช้เครื่องมือจากทาง Google หรือ SEO Extension เพราะใช้งานง่ายและฟรี
เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

    ทำความรู้จัก SEO Tool กันก่อน

    ทำความรู้จัก SEO tool

    SEO Tool คือ โปรแกรมหรือเครื่องมือที่ช่วยทำ SEO สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงปรับแต่งทุกสิ่งในเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ จนสามารถติดอันดับในหน้าค้นหาได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย ว่าแล้วก็ไปดูกันเลยดีกว่าว่าเครื่องมือช่วยทํา SEO ทั้ง 50 ตัวที่เราคัดมาให้จะมีอะไรบ้าง

    เครื่องมือทำ SEO หมวด Performance Tracker

    1. Google Search Console

    เป็น SEO Tool สำหรับวิเคราะห์ประสิทธิภาพและภาพรวมของเว็บไซต์ ว่ามีจุดไหนที่ต้องแก้ไข รายงานผลลัพธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนคนเข้าเว็บไซต์, Keyword ที่คนใช้เซิร์ชและเข้ามาที่เว็บไซต์ และ Impression เป็นต้น รวมถึงการส่งแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) ไปให้ทาง Google เข้ามาเก็บข้อมูล (Indexing) ในเว็บไซต์ทั้งหมด เพื่อนำไปพิจารณาอันดับในหน้า SERP และยกเลิกจัดเก็บเนื้อหาในหน้าที่เราไม่ต้องการได้ด้วย

    2. Google Analytics

    เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลและเก็บสถิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ ที่อยู่ของผู้ใช้ อุปกรณ์ มาจากช่องทางไหน พฤติกรรมของผู้ใช้เป็นยังไง ส่วนใหญ่กดเข้ามาอ่านหน้าไหน อยู่บนเว็บไซต์นานไหม รวมถึงการดู Conversion Report เช่น กดสั่งซื้อสินค้า หรืออะไรก็ตามที่เราตั้งค่าไว้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้เราวางแผนเนื้อหาในเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ได้แบบละเอียดยิบ

    3. Google Tag Manager (GTM)

    เป็นเครื่องมือทำ SEO ที่ใช้ติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ที่เข้ามาในเว็บไซต์ด้วยแท็ก (Tag) ต่าง ๆ เช่น Facebook, Google Ads, Google Analytic และอีกมากมาย ช่วยให้เราเห็น Customer Journey ได้อย่างชัดเจน ว่าคนกดคลิกที่ปุ่มไหนบ้าง เลื่อนอ่านไปจนถึง Footer เลยหรือเปล่า ซึ่ง GTM เป็นระบบจัดการแท็กทั้งหมดของเว็บไซต์ แตกต่างจาก Google Analytics ที่ทำหน้าที่เป็น Dashboard สรุป Metrics ต่าง ๆ นั่นเอง

    4. Facebook Pixel

    เป็น Code สำหรับเอาไปฝังในเว็บไซต์ เพื่อเก็บข้อมูลและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาในเว็บไซต์ จากโฆษณาบน Facebook ทำให้ได้ทั้งจำนวนยอดเข้าชม ยอด Conversion Rate แถมสามารถทำ Custom Audience ที่คล้ายคลึงกับกลุ่มคนที่เข้ายังมาเว็บไซต์ได้อีกด้วย

    เครื่องมือทำ SEO หมวด Content Checker

    content checker

    5. Google SERP Snippet Optimizer Tool

    SEO Tool ที่เอาไว้วัดจำนวนคำต่าง ๆ ที่แสดงผลบน SERP ได้แก่ Title Page, URL และ Meta Description อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำ SEO ให้มีประสิทธิภาพ Meta Tag ต้องไม่ยาวจนเกินไป เครื่องมือนี้จะช่วยคุณตรวจสอบว่าชื่อของหน้าเพจ, ลิงก์หรือคำบรรยาย ด้วยการกรอกข้อมูลลงไปได้เลย (ส่วนใหญ่ภาษาไทยจะใช้เป็น Pixel-based)

    เครื่องมือทำ SEO หมวด Rank Tracker

    เครื่องมือทำ SEO Rank Tracker

    6. Alexa Traffic Rank

    เครื่องมือสำหรับเช็ก Ranking ของเว็บไซต์ จุดเด่นคือสามารถดูเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง หรือธุรกิจประเภทเดียวกัน เพื่อวิเคราะห์จุดแข็งและนำมาพัฒนากลยุทธ์การทำ SEO นอกจากนี้ยังเช็ก Bounce Rate, Daily Time on Site และความเร็วเฉลี่ยของเว็บไซต์ได้อีกด้วย

    เครื่องมือทำ SEO ที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชัน

    เครื่องมือทำ SEO ที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชัน

    7. Ahrefs

    เป็นเครื่องมือทำ SEO ที่นักการตลาดหลายคนใช้ในการวิเคราะห์ภาพรวมของเว็บไซต์ เพราะมีฟังก์ชันมากมายครบจบในโปรแกรมเดียว ฟีเจอร์เจ๋ง ๆ ได้แก่ Ahrefs Backlink Checker เอาไว้ตรวจสอบ Backlink, Ahrefs Broken Link Checker ตรวจสอบลิงก์เสีย, Ahrefs Keyword Generator สำหรับทำ Keyword Research และอีกมากมาย

    • ราคา: แพ็กเกจเริ่มต้น $129 ต่อเดือน หรือประมาณ 4,472 บาท
    • Link: https://ahrefs.com/ 

    8. SEMRUSH

    เป็นเครื่องมือที่สาย SEO ควรใช้อย่างมาก เพราะมีฟีเจอร์ครบครันแบบ All-in-One ตั้งแต่การวิเคราะห์คู่แข่ง, ตรวจสอบหาช่องโหว่ของคอนเทนต์ (Content Gap) เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น, Keyword Gap ค้นหาว่าคีย์เวิร์ดไหนที่คู่แข่งมีแต่เราไม่มี ไปจนถึงวางแผนแคมเปญโฆษณาบน Google Ads

    • ราคา: แพ็กเกจเริ่มต้น $139.95 ต่อเดือน หรือประมาณ 4,852 บาท
    • Link: https://www.semrush.com/ 

    SEO Tool ที่ราคาคุ้มค่าและมีฟีเจอร์เด็ด ๆ มากมาย ส่วนใหญ่คนจะเอาไว้เช็กอันดับของเว็บไซต์ในหน้า Search Engine ซึ่งสามารถเช็กได้หลาย Keyword พร้อมกัน รวมถึง Track และ Monitor Keyword Ranking ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบ Backlinks และทำ Website Audit เพื่อเช็กคุณภาพของเว็บไซต์ได้อีกด้วย

    9. SE-Ranking

    • ราคา: แพ็กเกจเริ่มต้น $52 ต่อเดือน หรือประมาณ 1,803 บาท
    • Link: https://seranking.com/ 

    10. SEO Site Checkup

    เป็นเครื่องมือตรวจสอบเว็บไซต์แบบละเอียดยิบ ไม่ว่าจะเป็น เช็กลิงก์เสีย Backlinks ความเร็วในการโหลด สร้างแผนผังเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย และมีฟีเจอร์สำหรับตรวจสอบกลยุทธ์ของคู่แข่งอีกด้วย แสดงผลเป็น Dashboard ที่อ่านง่าย ไม่ยุ่งยาก โดยสามารถทดลองใช้งานฟรีได้ 7 วัน

    • ราคา: แพ็กเกจเริ่มต้น $29.95 ต่อเดือน หรือประมาณ 1,039 บาท
    • Link: https://seositecheckup.com/ 

    11. MozBar

    เป็นโปรแกรมเช็กโครงสร้างของเว็บไซต์ทั้งหน้า On-Page และ Off-Page วัดค่าความน่าเชื่อถือ DA/PA ที่ส่งผลต่ออันดับในหน้า Search Engine วิเคราะห์ Keyword เปรียบเทียบลิงก์ที่แสดงผลหน้าค้นหา รวมไปถึงตรวจสอบคุณภาพของเว็บไซต์คู่แข่ง เพื่อนำข้อมูลมพัฒนากลยุทธ์

    • ราคา: มีทั้งฟรีและเสียเงิน (แพ็กเกจเริ่มต้น $39 ต่อเดือนหรือประมาณ 1,352 บาท)
    • Link: https://moz.com/products/pro/seo-toolbar 

    แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าเครื่องมือทำ SEO แต่ละตัวราคาสูงเกินไป กลัวว่าจะใช้งานไม่คุ้มกับที่จ่าย หรือไม่อยากเสียเวลาศึกษาวิธีใช้เครื่องมือนาน ลองมาพูดคุยกับ “กระจ่าง Digital Marketing Agency” เรามีความเชี่ยวชาญในการใช้ SEO Tool เป็นอย่างดี และพร้อมเป็นพาร์ทเนอร์ทางด้านการตลาดออนไลน์ ที่จะช่วยให้เว็บไซต์ธุรกิจของคุณเติบโตได้เต็มประสิทธิภาพ

    เครื่องมือทำ SEO สำหรับทำ Report

    เครื่องมือทำ Report

    12. Looker Studio

    ใครที่อยากสรุปข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ให้เป็นตารางและภาพที่อ่านง่าย SEO Tool นี้ออกแบบมาเพื่อดึงข้อมูล จากในเว็บไซต์ Social Media หรือเครื่องมือต่าง ๆ ของ Google มาสร้างเป็น Dashboard วิธีการใช้ก็ง่าย ไม่ซับซ้อน มือใหม่ใช้งานได้แน่นอน

    เครื่องมือทำ SEO ด้วย Google Chrome Extension

    เครื่องมือทำ SEO ด้วย Google Chrome Extension

    13. Lighthouse

    SEO Extension จาก Google Chrome ที่เอาไว้วิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยจะทำการตรวจสอบเนื้อหาทั้งหมดแล้วแสดงผลเป็นคะแนนให้เราทราบ ตั้งแต่ 0 – 100 คะแนน ซึ่งมีทั้งหมด 5 ตัวชี้วัดด้วยกัน ได้แก่ Performance, Accessibility, Best Practices, SEO และ Progressive Web App 

    14. NoFollow

    เป็นเครื่องมือสร้างชุดคำสั่ง rel=“nofollow” ลงไปในลิงก์ที่เราไม่ต้องการให้ Robots เก็บข้อมูลจากเว็บปลายทาง มักจะใช้กับลิงก์ที่เชื่อมไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน เช่น Facebook, YouTube หรือเว็บไซต์สำนักข่าว เพื่อป้องกันสแปมและโฆษณาที่จะทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของเราไม่มีคุณภาพ และอันดับร่วงลงได้

    15. SEO META in 1 CLICK

    เป็น SEO Tool ที่เอาไว้เช็กโครงสร้างของเว็บไซต์หรือ Meta Tag ต่าง ๆ ได้แก่ Title, Description, Keywords, URL, Headers, Image alt text, เพื่อดูว่าปรับแต่งถูกต้องตามหลัก SEO หรือยัง และเอาไว้เช็กโครงสร้างเนื้อหาของคู่แข่งได้อีกด้วย

    16. SEO Minion

    เป็นเครื่องมือ SEO Extension จาก Google Chrome ที่มือใหม่หัดทำ SEO นิยมใช้กัน เพราะใช้งานง่ายและมีฟีเจอร์ที่ค่อนข้างครอบคลุม เช่น วิเคราะห์ภาพรวมเว็บไซต์ ตรวจสอบลิงก์เสีย ดูตัวอย่างการแสดงผลบนหน้า SERP และอัปเดตข้อมูลต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ 

    17. Similar Web

    ส่วนใหญ่แล้ว SEO Tool นี้มักจะเอาไว้ใช้เช็ก Website Ranking ทั้งการจัดอันดับทั่วโลกและในประเทศ แต่ก็สามารถเช็ก Insight อื่น ๆ ได้และแสดงผลค่อนข้างละเอียด เช่น จำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์, ช่องทางที่คนเข้าชมเว็บไซต์, ผู้ใช้อาศัยอยู่ที่ภูมิภาคไหน, ยอด Bounce Rate และอีกมากมาย ซึ่งสามารถเช็กได้ทั้งเว็บไซต์ของเราและคู่แข่ง

    18. SERP Preview Tool

    เป็นเครื่องมือทำ SEO ที่เอาไว้แสดงตัวอย่างของ SERP ทั้ง Title Tag, URL, และ Meta Description ที่เรียบง่าย ใช้งานไม่ยุ่งยาก 

    19. Wappalyzer – Technology profiler

    เวลาที่เห็นเว็บไซต์สวย ๆ หรือมีฟีเจอร์เจ๋ง ๆ และอยากรู้ว่าเขาเขียนด้วยภาษาอะไร ใช้เทคโนโลยีอะไร สามารถใช้โปรแกรมนี้ตรวจสอบว่าเว็บไซต์นั้น ๆ ถูกสร้างด้วยเครื่องมืออะไรบ้าง เช่น Programming Langauges, Server, Frameworks, Tag Managers และอื่น ๆ 

    20. Checkbot: SEO, Web Speed & Security Tester 🚀

    เป็นเครื่องมือวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ บนเว็บไซต์ได้อย่างครอบคลุม ได้แก่ ความเร็วในการโหลด ความปลอดภัยของหน้าเว็บ ตรวจสอบลิงก์เสีย เช็กหน้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาซ้ำกัน หน้าเว็บที่แสดงผลบนโทรศัพท์ได้ดี เช็ก robots.txt รวมไปถึงแผนผังของเว็บไซต์ 

    21. SEOquake

    เป็น SEO Tool อีกตัวที่มีชื่อเสียงเพราะมีฟีเจอร์ให้ใช้งานหลากหลายตัว ทั้งเช็กอันดับของเว็บไซต์ ตรวจสอบ Internal Link & External Link เปรียบเทียบ URLs และ domains แถมสามารถวิเคราะห์ความหนาแน่นของ Keyword ในหน้า On-Page ของเราได้ด้วย หรือจะเอาไปเช็กเว็บไซต์คู่แข่งก็ได้ว่า มีลิงก์ภายในและภายนอกกี่อัน คะแนนและอันดับของเว็บไซต์อยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อนำมาวางแผนพัฒนาเว็บไซต์ให้เหนือกว่า

    22. Detailed SEO Extension

    เอาไว้ตรวจเช็ก Meta Tag ต่าง ๆ เช่น Title, URL, Meta Description, จำนวนรูป, Headers, จำนวนคำในเว็บไซต์, Robots Tag, X-Robots-Tag, ลิงก์จากทั้งภายในและภายนอก, Schema Markup เป็นต้น ถือเป็นอีกโปรแกรมจาก Google Chrome ได้ใช้งานง่ายและแสดงผลไม่ซับซ้อน

    23. Link Redirect Trace

    เป็นเครื่องมือตรวจสอบการเปลี่ยนเส้นทางของ URL เช็กสถานะหน้าเพจ เช็กความถูกต้องว่าเว็บไซต์เปลี่ยนเส้นทางให้ผู้ใช้ถูกต้องหรือไม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้และช่วยให้ Robots เก็บข้อมูลง่ายขึ้นด้วย 

    24. META SEO inspector

    SEO Tool สำหรับตรวจสอบ Canonical Tags, Page Title, Meta Description, Heading Tag และ Robots เพื่อเช็กความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ SEO 

    25. Redirect Path

    เป็นเครื่องมือตรวจสอบ HTTP Header และการเปลี่ยนเส้นทางของ URL เพื่อป้องกันปัญหาที่เว็บไซต์แสดงเนื้อหาผิดหน้า หรือขึ้น 404 Page Not Found ที่จะส่งผลให้อันดับตกลง ผู้ใช้เกิดประสบการณ์ที่ไม่ดี และอาจมียอด Bounce Rate สูงขึ้นด้วย

    เครื่องมือทำ SEO สำหรับทำ Keyword Research

    เครื่องมือทำ SEO ทำ Keyword Research

    26. Google Keyword Planner

    เป็นโปรแกรมหา Keyword ฟรีจาก Google ใช้ดูว่าในแต่ละเดือนคีย์เวิร์ดนั้น ๆ มีปริมาณค้นหาเท่าไหร่ มีคู่แข่งที่ใช้คำเดียวกันมากหรือน้อย คำไหนกำลังเป็นเทรนด์หรือคนสนใจเยอะ หลังจากนั้นก็นำ Keyword มาวางแผนสร้างคอนเทนต์เพื่อเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ 

    27. keywordtool.io

    โปรแกรมหา Keyword ที่ใช้ค้นหาคีย์เวิร์ดได้หลายช่องทาง ทั้งจาก Facebook, YouTube, Instragram, TikTok, App Store, Play Store และอีกมากมาย มีการแนะนำคีย์เวิร์ดที่มีความหมายใกล้เคียงและ Long-tail Keyword ที่คนนิยมค้นหากันอีกด้วย 

    • ราคา: ฟรี (ถ้าต้องการใช้ฟีเจอร์แบบเต็ม ๆ ต้องเสียเงิน)
    • Link: https://keywordtool.io/ 

    28. Keyword Surfer

    เป็นเครื่องมือสำหรับทำ Keyword Research ที่ช่วยวิเคราะห์ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด ปริมาณการค้นหา (Search Volume) และแนะนำคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จุดเด่นคือแสดงผลการค้นหาจากทาง Google โดยตรง ทำให้สามารถนำไปวางแผนคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ

    29. Keywords Everywhere – Keyword Tool

    เป็น Keyword Research Tool ที่แสดงทั้งปริมาณการค้นหา ต้นทุนต่อการคลิก จำนวนคู่แข่งที่ใช้ Keyword เดียวกัน วิเคราะห์ Traffic ของเว็บไซต์ รวมถึง SEO Metrics ต่าง ๆ ทั้ง SEO Difficulty, On-Page Difficulty และ Off-Page Difficulty ซึ่งฟีเจอร์ส่วนใหญ่ที่วิเคราะห์และให้ข้อมูลค่อนข้างละเอียดจะต้องเสียค่าสมาชิกรายเดือน

    30. Ubersuggest

    เป็นเครื่องมือทำ SEO Keyword Research ที่สามารถดูปริมาณคำค้นหารายเดือน, ต้นทุนต่อการคลิกสำหรับทำ Google Ads, ความยากในการติดหน้าแรกอยู่ที่เท่าไหร่, แนะนำ Keyword Idea และสามารถเช็ก Keyword ของคู่แข่งได้ว่าเขาใช้คำไหนบ้างได้เช่นกัน ซึ่งถ้าไม่อยากจ่ายเงินก็ใช้งานได้ฟรี 3 ครั้ง/วัน

    • ราคา: เริ่มต้น $12 หรือประมาณ 415 บาท (ทดลองใช้ฟรีได้ 7 วัน)
    • Link: https://app.neilpatel.com/en/dashboard 

    31. AlsoAsked

    เป็นโปรแกรมหา Keyword หรือประเด็นที่คนกำลังสนใจอยู่ หรือมีคำถามอะไรที่คนสงสัยบ้างที่เกี่ยวกับ Keyword ที่เราต้องการใช้สร้างคอนเทนต์ เมื่อกรอก Keyword ลงไป โปรแกรมก็จะประมวลผลคำถามและแตกไอเดียมาให้เราในทันที โดยสามารถใช้งานฟรีได้ 3 ครั้ง/วัน

    • ราคา: เริ่มต้น $9 หรือประมาณ 312 บาท
    • Link: https://alsoasked.com/ 

    32. Google Trend

    โปรแกรมสำรวจเทรนด์ต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมทั้งทั่วโลกและในไทย (แยกย่อยเป็นจังหวัดได้ด้วย) หา Customer Insight และสิ่งที่คนกำลังตามหาในช่วงเวลานั้น ๆ เพื่อนำมาเป็นไอเดียในการสร้างคอนเทนต์เรียกกระแสหรือ Real-Time Content นอกจากนี้ยังสามารถดูเทรนด์ย้อนหลังในอดีตได้เช่นกัน

    เครื่องมือทำ SEO สำหรับลดขนาดรูป (Image Compressor)

    เครื่องมือ ช่วยลดขนาดรูปภาพ

    33. Tinyjpg & Tinypng

    ใครที่พบปัญหาเว็บไซต์โหลดช้า ขนาดรูปภาพที่ใหญ่เกินไปเป็น 1 ในสาเหตุที่ทำให้เว็บไซต์โหลดนานขึ้นได้ โปรแกรมนี้สามารถช่วยลดขนาดรูปภาพด้วยการบีบอัดไฟล์ (Compress) ให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งสามารถบีบอัดพร้อมกันได้สูงสุด 20 รูปและเซฟเป็นไฟล์ Zip ได้ด้วย

    34. Compressor.io

    เป็นเครื่องมือบีบอัดขนาดรูปภาพที่รองรับไฟล์ JPEG, PNG, SVG, GIF หรือ WEBP อัปโหลดขนาดไฟล์ได้สูงสุด 10MB (แบบฟรี) สามารถปรับแต่งขนาดและความละเอียดได้ตามต้องการโดยการใช้เมนู “Custom”

    • ราคา: เริ่มต้น $50 ต่อปีหรือประมาณ 1,734 บาท (สามารถอัปโหลดไฟล์ได้ถึง 20MB)
    • Link: https://compressor.io/ 

    เครื่องมือทำ Heat Map และวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้

    เครื่องมือ วิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้

    35. Hotjar

    เป็น SEO Tool สำหรับทำ Heatmap Analysis เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้บนเว็บไซต์ ว่าเมื่อท่องหน้าเว็บของเราแล้วทำอะไรบ้าง เลื่อนอ่านเนื้อหาไปจนถึงส่วนล่างของเว็บไหม แล้วแต่ละส่วนคิดเป็นกี่ % คลิกที่ปุ่มไหน เป็นต้น ข้อมูลส่วนนี้สามารถนำมาออก UX/UI ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและเป็นเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้อีกด้วย

    • ราคา: ฟรี (ถ้าต้องการใช้ฟีเจอร์เพิ่มขึ้น มีแพ็กเกจเริ่มต้น $32 ต่อเดือนหรือประมาณ 1,110 บาท)
    • Link: https://www.hotjar.com/ 

    36. Microsoft Clarify

    เครื่องมือทำ SEO ฟรีจากทาง Microsoft สำหรับวิเคราะห์และเก็บพฤติกรรมของผู้ใช้บนเว็บไซต์ เพื่อนำมาปรับปรุงคอนเทนต์บนหน้าเว็บ ซึ่งมีฟีเจอร์เด็ด ๆ มากมาย เช่น Heatmap Analysis สำหรับดูว่าคนคลิกปุ่มไหนบ้าง อ่านเนื้อหาส่วนไหนเยอะสุด, Recording หรือการอัดหน้าจอของผู้ใช้ เพื่อติดตามการกระทำแบบรายบุคคล เป็นต้น

    WordPress Plugin

    37. Yoast SEO

    เป็นเครื่องมือทำ SEO บน WordPress ช่วยเช็กโครงสร้างของเว็บไซต์ว่าจุดไหนที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม วิเคราะห์ภาพรวมและประสิทธิภาพของเว็บ โดยจะแสดงผลเป็นจุดสีเขียว ส้ม และแดง ถ้าขึ้นสีเขียวแสดงว่าเนื้อหานั้นถูกต้องตามหลัก SEO แล้ว แต่ถ้าขึ้นสีส้มหรือสีแดงแปลว่ายังต้องปรับแก้ไข ซึ่งปลั๊กอินนี้ก็จะแนะนำวิธีแก้ไขมาให้เราด้วย

    • ราคา: ฟรี (ใช้ได้แค่ฟีเจอร์พื้นฐาน) และมีแบบแพ็กเกจเริ่มต้น $99 ต่อปีหรือประมาณ 3,429 บาท
    • Link: https://yoast.com/ 

    38. WPRocket

    หากกำลังเจอเว็บไซต์โหลดช้า SEO Tool นี้จะช่วยปรับปรุงความเร็วของเว็บไซต์ แคชหน้าเว็บไซต์และไฟล์ต่าง ๆ มีฟีเจอร์ Lazy loading เพื่อให้โหลดข้อมูลเร็วขึ้น รวมถึงย่อ บีบอัด และปรับขนาดไฟล์รูปภาพ, CSS, HTML และ JavaScript ประหยัดเวลาในการปรับปรุงเว็บไซต์เชิง Technical Audit ได้เป็นอย่างดี

    • ราคา: เริ่มต้น $35.40 หรือประมาณ 1,227 บาท (ต่อการใช้งาน 1 เว็บไซต์)
    • Link: https://wp-rocket.me/ 

    39. Imagify

    เป็นเครื่องมือจัดการไฟล์รูปภาพให้มีขนาดเล็กลง แต่ยังคงคุณภาพและความละเอียดคมชัดไว้ รองรับไฟล์รูปภาพหลากหลายชนิด ได้แก่ JPEG, PNG, GIF เพื่อแปลงเป็นไฟล์ WEBP ที่จะมีขนาดไฟล์เล็กลง ช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ ความสะดวกคือไม่ต้องมานั่งกดทีละรูป แต่สามารถบีบอัดทุกภาพได้ในคลิกเดียวได้เลย

    • ราคา: มีทั้งแบบฟรี (สูงสุด 200 รูป/เดือน) และแพ็กเกจเริ่มต้น $4.99 ต่อเดือนหรือประมาณ 173 บาท
    • Link: https://imagify.io/ 

    40. Rank Math

    เป็นปลั๊กอินของ WordPress ที่มีฟีเจอร์กว่า 90 ตัวให้ใช้งาน ครอบคลุมการปรับแต่งหน้า SEO On-Page และ Off-Page ทั้งหมด เช่น Automated Image SEO ช่วยเพิ่ม alt text และ Title ของรูปภาพให้อัตโนมัติ, Rank Tracker ติดตามอันดับของเว็บไซต์, Focus Keyword และ Content Analysis วิเคราะห์เนื้อหาบนเว็บไซต์ เพื่อให้มียอดเข้าชมที่สูงขึ้น เป็นต้น

    • ราคา: มีทั้งแบบฟรีและแพ็กเกจเริ่มต้น $4.92 ต่อเดือนหรือประมาณ 171 บาท
    • Link: https://rankmath.com/

    เครื่องมือทำ SEO หมวด Technical Audit

    เครื่องมือทำ Technical Audit

    41. Screaming Frog

    โปรแกรมสำหรับ Crawl เว็บไซต์ทั้งหมด เพื่อตรวจหาลิงก์เสีย หน้าเพจที่ไม่โหลดหรือมีปัญหา ตรวจสอบความถูกต้องของ Title Tag, Meta Description, URL ว่าความยาวเหมาะสมไหมหรือมีหน้าไหนที่เขียนซ้ำกันบ้าง สร้าง Sitemap ตรวจสอบ Jacascript อีกทั้งยังสามารถเช็กได้ด้วยว่า Robots ได้มีการบล๊อกลิงก์ของเราไปหรือเปล่า ถือเป็น SEO Tool ที่ฟีเจอร์ครบวงจรสุด ๆ

    • ราคา: มีทั้งแบบฟรีและแพ็กเกจ $199 ต่อปี หรือประมาณ 6,899 บาท (มีฟีเจอร์ให้ใช้เยอะกว่า)
    • Link: https://www.screamingfrog.co.uk/seo-spider/ 

    42. GTmetrix

    SEO Tool สำหรับตรวจสอบความเร็วของเว็บไซต์ ซึ่งจะมีความละเอียดกว่า Page Speed Insight ตรงที่สามารถวิเคราะห์ความเร็วในการโหลดไฟล์รูปและ Script ต่าง ๆ แถมสามารถระบุลำดับและเวลาในการโหลดได้ด้วย อาจจะใช้งานยากสำหรับมือใหม่ แต่ข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเว็บไซต์มากเลยทีเดียว

    • ราคา: แพ็กเกจเริ่มต้น $3.25 ต่อเดือน หรือประมาณ 113 บาท
    • Link: https://gtmetrix.com/ 

    43. WebPageTest

    โปรแกรมทดสอบความเร็วของเว็บไซต์ สามารถเลือกตำแหน่งที่ตั้ง อุปกรณ์ หรือ Browser ที่ต้องการทดทดสอบ จะแสดงผลออกมาเป็นระยะเวลาที่ใช้ในการโหลด รวมถึงสามารถวิเคราะห์ First Byte Time ได้ด้วย 

    • ราคา: มีทั้งฟรีและเสียค่าใช้จ่าย (แพ็กเกจรายปีอยู่ที่ $180 หรือประมาณ 6,240 บาท)
    • Link: https://www.webpagetest.org/ 

    44. Google Page Speed Insight

    เป็นโปรแกรมวัดความเร็วในการโหลดของเแต่ละ Page โดยการตรวจสอบ Core Web Vitals หรือการตอบสนองของเว็บไซต์ ได้แก่ LCP, INP และ CLS ซึ่งจะมีช่วงคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 100 ยิ่งคะแนนเยอะก็แปลว่าเว็บไซต์สามารถแสดงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเว็บไซต์โหลดเร็วช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดี ทำให้ Ranking ของเว็บไซต์มีโอกาสสูงขึ้น

    45. Wayback Machine

    เป็น SEO Tool สำหรับดูหน้าตาเว็บไซต์ย้อนหลัง เมื่อเข้าไปในโปรแกรมก็ให้กรอก URL ลงไป จากนั้นก็จะแสดงหน้าปฏิทิน หากวันไหนมีการบันทึกเว็บไซต์ก็จะขึ้นสีบนวันที่นั้น ๆ เมื่อกดคลิกก็จะเห็นว่าหน้าตาเว็บไซต์ในอดีตเป็นยังไงนั่นเอง

    46. Whois Domain

    สำหรับเจ้าของธุรกิจไหนที่จ้าง Developer สร้างเว็บไซต์และอยากรู้ว่าเว็บไซต์ของเราอยู่ตรงไหน สามารถใช้เครื่องมือนี้เพื่อดูรายละเอียดของโดเมนเว็บไซต์ได้ ไม่ว่าจะเป็น สถานะ ระยะเวลาที่จดโดเมน วันหมดอายุ รวมถึงเจ้าของโดเมน เผื่อกรณีที่เว็บไซต์เกิดปัญหาจะได้ติดต่อกับ Host ได้ เป็นต้น

    47. Schema.org

    เป็นโปรแกรมที่ใช้ศึกษาการเขียน Schema Markup โดยจะมีคำศัพท์ต่าง ๆ ให้เราทำความเข้าใจ สำหรับติดตั้งบนเว็บไซต์ เพื่อให้ Robots เข้ามาเก็บข้อมูลและเข้าใจว่าเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ซึ่งต้องระบุประเภทของ Schema Markup ให้ตรงกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ด้วย 

    48. validator.schema.org

    SEO Tool ที่ใช้ในการตรวจสอบ Schema ของเว็บไซต์ด้วยการกรอก URL ลงไป และโปรแกรมก็จะประมวลผลออกมาเป็นโครงสร้างเว็บไซต์ทั้งหมด และระบุจุดที่มีข้อผิดพลาดให้เราด้วย

    49. Google Tag Assistant

    เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบการใช้งานและทำงานของ Tag ต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้บนเว็บไซต์ ว่ามี Tag อะไรบ้าง ทำงานปกติไหม หรือมี Tag ไหนที่ทำงานผิดปกติ (Error) สถานะการทำงานเป็นยังไง เป็นต้น 

    50. Google Rich Results Test

    เป็นเครื่องมือตรวจสอบการแสดงการค้นหา เมื่อใส่ URL ของเว็บไซต์ลงไป โปรแกรมก็จะประมวลผลและแสดงผลเนื้อหาส่วนที่มีโอกาสจะแสดงบนหน้า Rich Results หรือ Rich Snippets ของ SERP 

    สรุป

    แต่ละเครื่องมือทำ SEO ที่กระจ่างได้แนะนำไป จะมีวิธีการใช้งานที่ยากง่ายแตกต่างกัน เพื่อน ๆ สามารถเลือกใช้ SEO Tool ที่ตัวเองถนัดได้เลย หรือจะใช้โปรแกรมที่จำเป็นต่อการใช้งานและตรงกับเป้าหมายที่เราต้องการ รวมถึงอย่าลืมศึกษาวิธีการใช้งานให้ละเอียด จะได้สร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ได้ประโยชน์ทั้งฝั่งผู้อ่านและธุรกิจของคุณที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคตด้วย

    Picture of chen.krajang
    chen.krajang

    บทความแนะนำ

    สำหรับธุรกิจไหนที่อยากให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น การทำ SEO คือสิ่งที่สามารถช่วยให้ธุรกิจถูกมองเห็นในหน้าแรกของ Search Engine และเพิ่มยอดขายสินค้าได้ด้วย
    685
    แชร์
    ประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ควรทำเว็บไซต์ควรใส่ใจ โดยการปรับปรุงเชิง Technical SEO เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์และช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาคำตอบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
    603
    แชร์
    เว็บไซต์ติดหน้าแรกง่าย ๆ ด้วยการสร้างบทความ SEO ที่มีคุณภาพและไม่เพียงแค่ต้องทำให้ Robots เข้าใจเนื้อหา แต่ฝั่ง User ที่เป็นบุคคลทั่วไปต้องได้คำตอบที่กำลังตามหาอีกด้วย
    596
    แชร์

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • เปิดใช้งานตลอด

    บันทึกการตั้งค่า