เริ่มต้นการทํา SEO ด้วยตัวเอง เข้าใจง่ายในบทความเดียว!

อยากทำ SEO ด้วยตัวเอง แต่ไม่รู้ต้องเริ่มต้นยังไง ยังไม่มีพื้นฐานใด ๆ เลย บทความนี้รวบรวมทุกขั้นตอนเบื้องต้นมาให้คุณแล้ว มือใหม่อ่านแล้วทำตามได้ง่าย ๆ แน่นอน
แชร์
เริ่มทำ SEO ด้วยตัวเองอย่างไร

ไม่ว่าธุรกิจไหนก็อยากให้เว็บไซต์ของตัวเองขึ้นไปอยู่หน้าแรกของ Google เพราะช่วยเพิ่มการมองเห็นและเป็นช่องทางเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการให้กับแบรนด์อีกด้วย หลายคนอาจจะคิดว่าการทํา SEO ด้วยตัวเองนั้นยากเกินไป แต่ความจริงแล้วก็ไม่ได้เกินความสามารถขนาดนั้น ถ้าอยากรู้ว่าต้องเริ่มต้นทํา SEO ยังไง แล้วหลักการทํา SEO ที่ดีต้องเป็นอย่างไร กระจ่างสรุปให้แล้วครบจบในบทความเดียว มาลุยกันเลย!

  • การทํา SEO ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า อยากให้คนเข้ามาทำอะไรที่เว็บไซต์ เพื่อให้สามารถแผนกลยุทธ์ได้ง่ายขึ้น
  • Keyword Research ถือเป็นขั้นตอนการทํา SEO ที่สำคัญที่สุด เพราะช่วยให้รู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและนำมาวางแผนการทำคอนเทนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้เกิดจากการออกแบบเว็บไซต์เป็นหลัก เช่น เว็บไซต์โหลดเร็ว เนื้อหาอ่านง่าย และยังส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์อีกด้วย
เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

    ปูพื้นฐานกันก่อน การทำ SEO คืออะไร

    ก่อนจะเริ่มศึกษาว่า SEO ทำอย่างไร ก็มาหาคำตอบกันสักเล็กน้อยว่าการทำ SEO คืออะไร ซึ่ง SEO มาจากคำว่า Search Engine Optimization เป็นเทคนิคการทำการตลาดออนไลน์ให้เว็บไซต์ขึ้นไปอยู่หน้าแรกหรืออันดับต้น ๆ ของ Search Engine ด้วยการองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งเนื้อหาบนเว็บไซต์ คำค้นหา (Keyword) และโครงสร้างหลังบ้านของเว็บไซต์

    แจก 9 ขั้นตอนการทํา SEO สําหรับมือใหม่ อัปเดตล่าสุด!

    9 ขั้นตอน ทำ SEO ที่มือใหม่ต้องรู้

    สำหรับใครหรือธุรกิจไหนกำลังค้นหาวิธีทํา SEO ด้วยตัวเองแบบเข้าใจง่าย สอนทีละขั้นตอนแบบ Step-by-Step กระจ่างเตรียมมาให้คุณแล้ว มาเริ่มต้นทำ SEO ไปพร้อม ๆ กันเลย!

    STEP 1: กำหนดจุดประสงค์ของการทำ SEO

    ขั้นตอนแรกของการทำ SEO คือการกำหนดวัตถุประสงค์ว่าต้องการให้คนเข้ามาทำอะไรในเว็บไซต์ของเรา ตัวอย่างเช่น ตอนนี้กำลังเปิดร้านกาแฟ ต้องการทำ SEO เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้คนรู้จักร้านของเรามากขึ้น และสั่งซื้อกาแฟหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของแบรนด์

    เพราะการวางจุดประสงค์ที่ชัดเจน จะส่งผลกับการออกแบบและพัฒนา Website ให้ตอบโจทย์และคำนึงถึง UX/UI และสามารถวางแผนขั้นตอนต่อ ๆ ไปได้ง่ายขึ้น รวมถึงจะได้ใช้กลยุทธ์ที่เข้ากับเป้าหมายอีกด้วย

    STEP 2: เลือก Website/Hosting ให้เหมาะสม

    การทำ SEO เว็บไซต์เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ SEO ติดอันดับได้ง่ายขึ้น จึงควรเลือกใช้ CMS หรือตัวจัดการหลังบ้านที่รองรับการทำ SEO เช่น WordPress ที่มี Theme และ Plugin ที่พร้อมแก้ไขและพัฒนาเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ทั้งเรื่อง Mobile Friendly, Page Speed, Core Web Vital และการทำ Responsive Design ที่ช่วยให้เว็บไซต์แสดงผลได้ดีในทุก ๆ อุปกรณ์

    และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือการเลือก Hosting โดยต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราอาศัยอยู่ที่ไหน เช่น ลูกค้าร้านกาแฟของเราส่วนใหญ่เป็นคนไทย ก็ควรเลือก Hosting ที่เป็นประเทศไทย เพื่อให้แสดงข้อมูลอย่างรวดเร็วและคนไทยมองเห็นเว็บไซต์ของเราง่ายขึ้น หรือจะเลือกใช้ Cloudflare หรือ Cloudfront ช่วยให้ Website โหลดได้เร็วและได้ทุกที่

    คำค้นหาที่ใช่ keyword research

    STEP 3: ค้นหาคำที่ใช่ด้วยการทำ Keyword Research

    การทำ Keyword Research เป็นการค้นหาว่ากลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ใช้ Keyword ไหนบ้างในการค้นหาข้อมูล มีจำนวนหรือปริมาณการค้นหาอยู่ที่เท่าไหร่ (Search Volume) ซึ่งการทำ Keyword Research ให้มีประสิทธิภาพ เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า Keyword คืออะไร มี่กี่ประเภท และมีความสำคัญอย่างไรกับการทำ SEO

    Keyword คืออะไร

    Keyword คือคำ ประโยค หรือวลีที่กลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ใช้ในการค้นหาข้อมูลบน Search Engine ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความต้องการ ความอยากรู้ หรือปัญหาที่อยากได้คำตอบ

    ประเภทของ Keyword มีอะไรบ้าง

    • Generic Keyword: คำกว้าง ๆ ที่มีปริมาณการค้นหา (Search Volume) ค่อนข้างสูง แต่มี Search Intention ค่อนข้างต่ำและมีความหมายกว้าง ๆ เช่น กาแฟ, เสื้อผ้า, ลิปสติก, รถยนต์, หนังสือ, ร้านอาหารเกาหลี เป็นต้น

      เนื่องจากเป็นคำที่ค่อนข้างกว้างและบอกได้ยากว่ากลุ่มเป้าหมายกำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไร บวกกับเป็นคำที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทำให้โอกาสที่จะใช้แค่ Keyword ประเภทนี้เพื่อทำ SEO ให้ติดหน้าแรกจึงเป็นไปได้ยาก
    • Niche Keyword/Supporting Keyword: คำค้นหาประเภทนี้จะมีการเพิ่ม Intention ของผู้ค้นหาเพิ่มเข้าไป โดยจะเพิ่มคำที่เฉพาะเจาะจงต่อท้ายกับ Generic Keyword เช่น ร้านอาหารเกาหลี ย่านอารีย์, หนังสือ มือสอง, คาเฟ่ เชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งปริมาณการค้นหาจะอยู่ในระดับกลาง ๆ และต่ำกว่า Generic Keyword
    • Long-Tail Keyword: คำค้นหาที่เป็นวลียาว ๆ มีปริมาณการค้นหาน้อยที่สุดและมีคู่แข่งน้อยกว่า Keyword ประเภทก่อนหน้า ซึ่งเป็นกลุ่มคำที่แสดงถึงความต้องการของผู้ค้นหาได้ชัดเจนที่สุด เช่น ร้านอาหารเกาหลีเปิดใหม่ ย่านอารีย์, กระเป๋าเป้ สีดำ ราคาถูก, ที่เที่ยวในกาญจนบุรี อัปเดตปี 2024 เป็นต้น

    วิธีการทำ Keyword Research

    วิธีการหา Keyword ที่ใช่สำหรับธุรกิจ อาจเริ่มจากการสวมหัวเป็นลูกค้าก่อนว่า ถ้ากำลังมองหาสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่าง จะเสิร์ชคำว่าอะไร แล้วในหน้า Google Suggestion มี Long-Tail Keyword อะไรขึ้นมาบ้าง เมื่อกดเข้าไปอ่านเว็บไซต์ของคู่แข่งแล้วเขาใช้ Keyword ไหนเป็นหลัก

    อาจลองใช้ Keyword Tools ต่าง ๆ เข้ามาช่วย ในปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายให้เลือกใช้ ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน ซึ่งสามารถช่วยแนะนำคำค้นที่เหมาะสม รวมถึงสามารถนำลิงก์เว็บไซต์คู่แจ่งไปตรวจเช็กได้ว่า เขาใช้ Keyword อะไร และ Keyword Ranking อยู่อันดับที่เท่าไหร่บ้าง

    เลือก Keyword ยังไงให้เหมาะสมกับเนื้อหา

    เทคนิคในการเลือก Keyword ที่ใช่คือ ควรเลือกคำที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา สำหรับแบรนด์ก็ควรเลือกคำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ รวมไปถึงต้องสอดคล้องกับ Search Intent ของกลุ่มเป้าหมายด้วยว่าพวกเขากำลังตามหาอะไรอยู่

    โดย Search Intent คือ จุดประสงค์ของผู้ใช้ที่ค้นหาบางสิ่งบางอย่างบน Search Engine เช่น ค้นหาเพื่ออยากได้ข้อมูล/ความรู้ทั่วไป, ค้นหาแบบค่อนข้างรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร, ค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ และค้นหาเพื่อซื้อหรือขายสินค้าบางอย่าง

    ได้ Keyword มาแล้ว เอาไปทำอะไรต่อ?

    “คำที่ใช่คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการทำ SEO การที่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายกำลังค้นหา หรือมี Search Intention แบบไหน ทำให้เราสามารถวางแผน Content Pillar, Content Structure รวมไปถึงการเขียนเนื้อหาให้เหมาะสม ตอบโจทย์และความต้องการของพวกเขาได้อย่างตรงจุด

    ซึ่ง Keyword ที่ได้ก็จะถูกนำไปกระจายยังส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Title, Meta Description, Headers และเนื้อหา เพื่อให้ Robots เห็นว่าในเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาที่ผู้ใช้เซิร์ชบน Search Engine และนำไปจัดอันดับหน้า SERP ต่อไป

    STEP 4: ปรับแต่งคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ (On-site SEO)

    หลังจากที่ได้ Keyword และวางแผนโครงสร้างเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเขียนและปรับปรุงเนื้อหาบนเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า Onsite Content ให้ตอบโจทย์ ทั้ง Users ทั่วไปและ Users อย่าง Robots ของ Google

    • สิ่งที่คนทั่วไปต้องการเห็นคือ การที่เขาค้นหาแล้วได้คำตอบ ช่วยแก้ไขปัญหาได้ หรือตรงกับ Search Intent ของเค้า เป็นทั้งคอนเทนต์แบบ Evergreen Content และ Trendy Content ให้พวกเขารับรู้ทั้งข้อมูลแบบ Facts ที่เข้าใจง่าย ควบคู่ไปกับเนื้อหาที่อ่านแล้วดึงดูงใจ (Catchy) 
    • ในฝั่งของ Users อย่าง Robots ก็ต้องการให้เนื้อหาบนเว็บไซต์ตอบโจทย์ทั้ง Users คนทั่วไป และตรงตาม Algorithm ที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา

    เป็นการปรับแต่งเนื้อหาหรือคอนเทนต์บนหน้าเว็บไซต์ ที่สามารถเป็นได้ทั้งหน้าบริการ, หน้าสินค้า หรือบทความให้ความรู้ เพื่อบอกว่าเว็บไซต์ของเราเกี่ยวข้องกับอะไร ต้องการพูดถึงอะไรบ้าง นอกจากให้ตัวผู้ใช้ค้นหาตอบได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ Algorithm เข้าใจเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราได้ง่ายยิ่งขึ้นไปด้วย 

    ซึ่งเนื้อหาบนหน้าเพจควรจะสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ E-E-A-T (Expertise, Experience, Authoritativeness, Trustworthiness) ที่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์และส่งผลต่อการพิจารณาจัดอันดับในหน้า Search Engine สำหรับกระบวรการปรับแต่งเบื้องต้น กระจ่างก็จะมาแจกวิธีทํา SEO ด้วยตัวเองที่ได้ผลสุด ๆ

    โดยวิธีทำ SEO ด้วยตัวเองให้เห็นผล ในส่วนของ On-site Content ควรยึดมั่นที่เนื้อหาเป็นหลัก ซึ่งมีจุดที่คนทำ SEO ต้องสนใจหลัก ๆ 3 ประเด็นด้วยกัน

    1. Informative Content

    เนื้อหาทั่วไปที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ E-E-A-T (Expertise, Experience, Authority, Trust) ที่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและตอบโจทย์ผู้อ่าน เช่น

    • ใส่ Keyword ลงไปใน URL และใช้คำที่กระชับ ไม่ยาวจนรกสายตา
    • Intro ก่อนเข้าเนื้อหาหลักของบทความควรอยู่ที่ 80-150 คำ และควรแทรก Keyword อย่างน้อย 1 คำ
    • แทรก Keyword ไปในทุก ๆ Header ทั้ง H1, H2, H3
    • ในเนื้อหาจะใส่คำที่มีความหมายใกล้เคียง (Synonyms) กับคีย์เวิร์ดหลักของเราไปด้วยก็ได้

    2. Multimedia Content

    การใช้เนื้อหารูปแบบอื่น ๆ ที่ทำให้น่าดึงดูดแทรกลงไปในเนื้อหา เช่น รูปภาพ คลิปวิดีโอ Infographic ที่สรุปเนื้อหาของบทความ เป็นต้น ช่วยให้คนไม่ปวดสายตาจากการอ่านตัวหนังสือจำนวนมาก และยังช่วยเพิ่มความสนใจ อยู่บนเว็บไซต์ของเรานานขึ้นด้วย

    3. Technical Content

    การทำ Meta Elements ต่าง ๆ ในแต่ละหน้า ให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาในหน้านั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Home Page หรือ Service Page

    • Page Title และ Meta Description ควรมี Keyword หลักแทรกลงไปด้วยอย่างน้อย 1 คำ
    • Header Structure การวาง H1, H2, H3 ให้เหมาะสมกับการเล่าเนื้อหา ซี่งควรมี H1 แค่อันเดียว เพื่อไม่ให้ Algorithm สับสน
    • Image Alt Tag ทุก ๆ ภาพประกอบเนื้อหา ต้องใส่ Alt Text หรือคำอธิบายรูปภาพลงไปด้วย ซึ่งใน Alt Text ก็ควรมี Keyword อย่างน้อย 1 คำ
    • Content Structure วางโครงสร้างเนื้อหาให้สามารถอ่านได้เป็นระบบ ไม่ข้ามเนื้อหาไปมา
    • Content Pillar จัดประเภทของเนื้อหา เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนเนื้อหาในอนาคต และช่วยให้ผู้ใช้หาข้อมูลสะดวกขึ้นด้วย
    • Internal Link เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาและเป็นการเพิ่ม Traffic ไปยังหน้าอื่น ๆ
    • External Link หรือการอ้างอิงไปยังเว็บไซต์อื่น เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเนื้อหา

    ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ยังรวมถึงการเขียนบทความ (Blog) ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือประเภทธุรกิจที่เราทำ เช่น เมล็ดกาแฟ มีกี่ประเภท, คนไทยชอบดื่มกาแฟอะไรมากที่สุด, ประวัติความเป็นมาของกาแฟ เป็นต้น โดยสามารถนำเทคนิคข้างต้นไปประยุกต์ใช้ได้ทุกข้อเลย

    เพิ่มความน่าเชื่อถือด้วย link building

    STEP 5: สร้าง Link Building เพิ่มความน่าเชื่อถือ (Off-site SEO)

    Link Building หรือ Backlink เป็นการสร้างเนื้อหาและทำเป็นลิงก์ไปลงบนเว็บไซต์อื่น ๆ ให้ Traffic กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา กระบวนการทำ SEO ข้อนี้ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ได้เป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเสมือนเป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีสอดคล้องกับหลัก Trustworthiness ใน E-E-A-T Factor ของ Google ซึ่งลักษณะของ Backlink ที่มีคุณภาพนั้น มีดังต่อไปนี้

    • เว็บไซต์ที่อ้างอิงมีค่า Authority สูง: ยิ่งเว็บไซต์ที่เรานำ Backlink ไปวางนั้นมีค่า Domain Authority สูง ก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้เว็บไซต์ของเรามากขึ้นด้วย
    • เว็บไซต์นั้น ๆ มีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา: อาจจะเป็นเว็บที่ลักษณะสินค้าหรือบริการคล้ายกัน หรืออยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเว็บไซต์อะไรก็ได้
    • เนื้อหามีคุณภาพ: เนื้อหาที่สร้างขึ้นมีประโยชน์แก่ผู้ใช้ และสอดคล้องกับ Keywords
    • ลิงก์นั้นมีคนใช้งานจริง: เว็บไซต์นั้นมีคนเข้ามาคลิกเพื่อใช้งานเรื่อย ๆ ให้มั่นใจได้ว่าจะมี Traffic กลับมาที่เว็บไซต์ของเราแน่นอน

    STEP 6: ปรับแต่ง UX/UI ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน

    เป็นการสร้างประสบการณ์การใช้งาน (User Experience) ที่ดีให้กับผู้อ่าน ซึ่งจะเป็นผลมาจากการทำ UI (User Interface) ที่ดี เช่น เว็บไซต์โหลดอย่างรวดเร็ว ตัวอักษรอ่านง่าย ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ออกแบบ Layout ของหน้าเว็บไซต์เป็นสัดส่วน รวมไปถึงการแสดงผลหน้าเว็บที่รองรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ โดยหลัก ๆ แล้วเราจะสามารถวัด UX ได้จาก

    • Bounce Rate: เป็นค่าที่บอกว่าคนเข้ามาแล้วกดออกเว็บไซต์เลยทันทีกี่เปอร์เซ็นต์
    • Session Duration: เป็นค่าที่เอาไว้วัดว่าผู้ชมแต่ละคนอยู่บนเว็บไซต์ของเรานานเท่าไหร่
    • Average Time on Page: เป็นค่าที่แสดงเวลาเฉลี่ยของผู้ใช้งานที่อยู่บนเว็บไซต์ หากหน้าเพจไหนมีคนอยู่นาน แสดงว่าเนื้อหาบนหน้าเพจนั้นดี มีประโยชน์
    • Tracking: เป็นการติดตั้งเครื่องมือเพื่อดู Journey ของคนที่เข้ามาในเว็บไซต์ ว่าเขาอยู่ที่หน้าเพจไหนนานสุด, กดปุ่ม CTA ตรงไหนบ้าง เพื่อเก็บข้อมูลและนำมาออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของลูกค้า

    STEP 7: ปรับแต่ง Technical SEO ให้มีประสิทธิภาพ

    อีกขั้นตอนสำคัญของการทํา SEO ด้วยตัวเอง คือการปรับแต่งภาพรวมของเว็บไซต์ในเชิงเทคนิคทั้งหมด เพื่อปรับปรุงอันดับในหน้า Search Engine และเพิ่มโอกาสติดหน้าแรกของ Google ได้อย่างยาวนานมากขึ้น ตัวอย่างเช่น

    • จัดทำให้เว็บไซต์ใช้ HTTPS หรือ SSL เพื่อความปลอดภัย
    • ตรวจสอบสถานะ URL เช่น 301 Redirect, 302 Redirect หรือ 404 Not Found หากพบปัญหาให้แก้ไขให้เรียบร้อย
    • ตรวจสอบการสร้างและอัปเดต Sitemap
    • ตรวจสอบความเร็วในการโหลดของหน้าเว็บ
    • ตรวจสอบ Core Web Vitals หรือการตอบสนองของเว็บไซต์

    สำหรับตัว Website Structure แนะนำให้ทำแบบ Hybrid Website Structure หรือโครงสร้างเว็บไซต์ที่ผสมผสานระหว่าง Silo-Website Structure คือจัดกลุ่มเนื้อหาหรือเพจที่เป็นประเภทเดียวกันด้วย Internal link รวมกับ Linear Website Structure ที่เป็นการแสดงเนื้อหาเป็นลำดับ 1-2-3-4 เป็นเหมือนการวาง Journey ให้กลุ่มผู้ใช้เมื่อเข้ามาที่เว็บไซต์ของเรา

    social Media กับการทำ SEO

    STEP 8: ใช้ Social Media ให้เป็นประโยชน์

    เราสามารถใช้ Social Media เป็นตัวกลางในการเผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพราะคนแต่ละยุค แต่ละ Gen ก็ชอบใช้แพลตฟอร์มที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น การสร้างเพจเฟซบุ๊ก ทำคอนเทนต์ต่าง ๆ แล้วเชื่อมโยงกลับมาที่เว็บไซต์ หรือจะโพสต์โปรโมตบทความลงบนเพจก็ได้ ถือเป็นการเพิ่ม Traffic กลับมายังเว็บไซต์ของเราไปในตัว

    STEP 9: การติดตามผลและวัดผลลัพธ์ผ่าน Report

    สุดท้ายนี้เพื่อให้เรามองเห็นผลลัพธ์ที่ทุ่มแรงลงไปนั้น ต้องมีการทำ SEO Report เพื่อสรุปข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผลลัพธ์ จุดบกพร่อง และดูว่าเป็นไปตามเป้าหมายแรกที่วางไว้หรือไม่ พร้อมทั้งการทำ Conversion/Event Tracking เพื่อทำให้เห็นถึงนิสัยการใช้งาน Website ของผู้ใช้ ว่าคนส่วนใหญ่อยู่ที่หน้าเพจไหน คลิกปุ่มไหนมากสุด ตัวอย่างเครื่องมือในการทำติดตามผล เช่น Google Search Console, GA, GTM, Heatmap และ Lookerstudio

    สรุป

    การทำ SEO ด้วยตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากขนาดนั้น เพียงต้องอาศัยการศึกษาหาความรู้และคอยอัปเดตข่าวสารของ Google อย่างสม่ำเสมอ ส่วนในเรื่องของเครื่องมือช่วยทำ SEO ปัจจุบันก็มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน อาจจะเริ่มต้นจากการใช้แบบฟรีก่อนก็ได้ และอาจศึกษาแนวทางของคู่แข่งเพิ่มเติมว่า เขาเขียนแบบไหน เพื่อนำกลยุทธ์และจุดแข็งมาปรับใช้กับคอนเทนต์ของเรา

    แต่ถ้าคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาด้าน SEO เพื่อให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกของ Google “กระจ่าง” ยินดีให้คำปรึกษาคุณฟรี! พร้อมมีบริการรับทำ SEO ที่ครบวงจรด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี ติดต่อหาเราได้เลยตอนนี้

    Picture of krajang
    krajang

    บทความแนะนำ

    สำหรับธุรกิจไหนที่อยากให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น การทำ SEO คือสิ่งที่สามารถช่วยให้ธุรกิจถูกมองเห็นในหน้าแรกของ Search Engine และเพิ่มยอดขายสินค้าได้ด้วย
    665
    แชร์
    ประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ควรทำเว็บไซต์ควรใส่ใจ โดยการปรับปรุงเชิง Technical SEO เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์และช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาคำตอบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
    584
    แชร์
    เว็บไซต์ติดหน้าแรกง่าย ๆ ด้วยการสร้างบทความ SEO ที่มีคุณภาพและไม่เพียงแค่ต้องทำให้ Robots เข้าใจเนื้อหา แต่ฝั่ง User ที่เป็นบุคคลทั่วไปต้องได้คำตอบที่กำลังตามหาอีกด้วย
    577
    แชร์

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • เปิดใช้งานตลอด

    บันทึกการตั้งค่า