เวลาเลือกซื้อหนังสือสักเล่ม เราก็จะพลิกหลังหนังสือก่อนว่าเรื่องย่อเป็นยังไง มีประเด็นอะไรน่าสนใจบ้าง การทำ SEO ก็เช่นกัน ก่อนจะคลิกเข้ามาอ่านเนื้อหายาว ๆ ก็ต้องอ่านคำบรรยายก่อน หรือที่เรียกกันว่า Meta Description นั่นเอง แล้ววิธีที่ถูกต้องตามหลักการ SEO เป็นยังไง บทความนี้มีคำตอบและพร้อมนำตัวอย่างรูปแบบการเขียนที่ดีมาให้เพื่อน ๆ ทุกคนแล้ว มาดูกันเลย
KRAJANG Summary
- Meta Description คือคำบรรยายที่สรุปเนื้อหาทั้งหมดในหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ
- ความยาวที่ถูกต้องตามหลัก SEO คือ 120 – 160 คำหรือไม่เกิน 990px สำหรับภาษาไทย
- ควรมี Meta Description ในทุก ๆ หน้า เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเนื้อหาข้างมีอะไรบ้าง รวมถึงต้องเขียนให้แตกต่างตามเนื้อหาในหน้านั้น ๆ ด้วย
Meta Description คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการทำ SEO
Meta Description คือ HTML ที่เอาไว้อธิบายและสรุปเนื้อหาทั้งหมดใน Page นั้น ๆ เมื่อผู้ใช้ค้นหาบางสิ่งบางอย่าง หลังจากแสดงผลเว็บไซต์จะขึ้นบนหน้า SERP โดยตัว Meta Description คือประโยคบรรยายที่อยู่ใต้ Title และ URL นั่นเอง
Meta Description ช่วยให้ผู้อ่านรู้ภาพรวมคร่าว ๆ ว่า Page นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรก่อนกดคลิกเข้าไปอ่าน และช่วยให้ Robots ทำความเข้าใจเนื้อหาและจัดเก็บข้อมูลไปจัดอันดับเว็บไซต์ต่อไป
Meta Description ควรมีกี่คำ
Meta Description ควรมีความยาวอยู่ระหว่าง 120 – 160 ตัวอักษร หรือไม่เกิน 990px ซึ่งภาษาไทยไม่มีการเว้นวรรคคำเหมือนกับภาษาอังกฤษ จึงนิยมวัดความยาวด้วย Pixel-based มากกว่า
เครื่องมือสำหรับนับจำนวนคำ Meta Description
SEOmofo เป็นเครื่องมือนับคำใน Meta Description ที่ใช้งานง่าย เพียงแค่พิมพ์คำบรรยายลงในช่อง Description โปรแกรมจะนับจำนวนคำให้ นอกจากนี้ยังสามารถเช็กความยาวของ URL และ Title Page ได้ด้วย
กระจ่างแจกวิธีเขียน Meta Description ให้ติดอันดับ
มีจำนวน Keyword ที่เหมาะสม
แน่นอนว่าใน Meta Description ก็ต้องมี Keyword ที่สอดคล้องกับเนื้อหาด้านในและ Title Page ถ้าให้ดีควรจะมีทั้ง Main Keyword และ Supporting Keyword รวมกันแล้วไม่เกิน 3 คำ เพื่อให้คำบรรยายดูเป็นธรรมชาติ ไม่เป็นการยัดเยียดคนอ่านมากจนเกินไป
สรุปเฉพาะเนื้อหาสำคัญ
เพราะคำบรรยายเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยดึงดูดให้คนกดเข้ามายังเว็บไซต์ จึงควรเขียนสรุปใจความสำคัญ หรือบอกว่ามีหัวข้อย่อยอะไรบ้าง รวมถึงเขียนให้เข้าใจง่ายและกระชับมากที่สุด ถ้ายาวเกินไปจะก็จะทำให้เนื้อหาแสดงผลไม่ครบ (จะขึ้นเป็น…..ต่อท้าย)
Meta Description แต่ละหน้าควรแตกต่างกัน
แต่ละหน้าที่มีเนื้อหาแตกต่างกัน คำบรรยายก็ต้องเขียนให้ไม่เหมือนกันด้วย นอกจากนี้ Meta Description ควรมีทุก ๆ หน้า เพื่อให้ Robots ดึงข้อมูลไปจัดทำดัชนี (Indexing) ได้ถูกต้อง เพราะถ้าเกิดไม่ใส่ลงไป Robots อาจนำข้อมูลส่วนอื่นที่ไม่ใช่ใจความสำคัญแทน ซึ่งอาจส่งผลต่ออันดับเว็บไซต์ได้
ตัวอย่าง Meta Description ที่ดี
จะเห็นว่า Meta Description ที่จะกระจ่างยกมาให้ทุกคนดูอันนี้มี Keyword หลักอย่าง เอเจนซี่รับทำ SEO แทรกอย่างน้อย 1 ตัว พร้อมกับการบอกเนื้อหาโดยรวม และมีความยาวอยู่ที่ 791 คำ ถือว่าไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป กระจ่างขอสรุป Checklist การเขียน Meta Description ที่ดี อีกรอบตามนี้เลย
- 120 – 160 ตัวอักษร หรือไม่เกิน 990px
- มี Main Keyword และ Supporting Keyword รวมกันแล้วไม่เกิน 3 คำ
- มีการสรุปเนื้อหาสำคัญของหน้านั้น ๆ ด้วย
- Meta Description แต่ละหน้าต้องไม่เหมือนกัน
สรุป
หลายคนอาจมองว่า Meta Description เป็นองค์ประกอบที่ไม่ได้สำคัญมากนัก แต่กระจ่างแนะนำมีไว้ดีกว่าไม่มี เพราะ Meta Description เป็นเหมือนบทสรุปสำคัญให้กับผู้ใช้ว่าจะได้อ่านข้อมูลอะไรบ้าง และช่วยให้ Robots ทำความเข้าใจภาพรวมเนื้อหาทั้งหมดได้รวดเร็วขึ้น ข้อระมัดระวังมีเพียงแค่อย่าเขียนให้ยาวมากจนเกินไปและต้องมี Keyword ที่สำคัญด้วย